กระดาษสา เป็นกระดาษพื้นเมืองทางภาคเหนือที่ผลิตด้วยมือวิธีการทำกระดาษสาถูกเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนาจากประเทศจีน เพื่อใช้ทำบันทึกคำสั่งสอนดังนั้นการใช้กระดาษสาของชาวพื้นเมืองทางภาคเหนือ จึงเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างมากกล่าวคือการตกแต่งถวายทานแทบทุกประเภท จะตกแต่งด้วยกระดาษสาทาสีต่าง ๆให้ สวยงาม เพื่อใช้ ในงานเทศกาลต่างๆ ของวัด และพิธีกรรมต่าง ๆ
ต้นปอสา เป็นต้นไม้ ประเภทไม่มีแก่น ลำต้นค่อนข้างเปราะแตกกิ่งก้ านออกรอบต้น เปลือกมีสีขาวปนเทาหรือสีเขียวอ่อนใบมี 2 ชนิด คือ ใบหยักและใบไม่หยักใบมีขนเล็กน้อยต้นปอสาชอบขึ้นในพื้นที่ ที่มีอากาศชื้น เช่นตามหุบเขา ตามริมห้วย หรือพื้นดินที่ชุ่มชื้นโดยปกติจะพบในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ใยจากเปลือกของต้นปอสามีคุณสมบัติพิเศษเหมาะสำหรับทำเป็นเชือกได้แต่ส่วนมากมักถูกนำมาใช้ทำกระดาษปอสาที่นำมาใช้ ทำกระดาษจะต้ องมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 7-10 เซนติเมตรหรือมีอายุประมาณ 3– 4 ปี
|
แหล่งผลิตที่สำคัญของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือคือจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ลำปาง และสุโขทัย กระดาษสาที่ทำกันโดยทั่วไปในภาคเหนือของประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวที่นับได้ ว่าเป็นการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมมาจากบรรพบุรุษ ส่วนใหญ่ทำขึ้นเพื่อใช้ เป็นกระดาษทำร่ม ทำว่าว ทำกระดาษห่อของขวัญ ตลอดจน โคมไฟกระดาษสา ซึ่งนับว่าเป็นที่นิยมอย่างมาก ในกลุ่มคนที่รักและชื้นชอบงานกระดาษสา ลักษณะการใช้งาน ใช้ตกแต่งบ้านเรือน เป็นโคมไฟหัวนอน ใช้ถวายบูชา อีกทั้งยังมีราคาถูกเป็นที่ทุกคนสามารถซื้อได้และการบำรุงรักษาง่าย สะดวกต่อการใช้งาน
การผลิตกระดาษสามีลักษณะการผลิตเพื่อใช้ ในครัวเรือนเมื่อมีความต้องการและเห็นประโยชน์จากกระดาษสามากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนเป็นหัตถกรรมขนาดย่อมนอกจากจะประดิษฐ์เป็นของใช้แล้ว เช่น ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นของที่ระลึกมากขึ้น ในปัจจุบันมีการนำเส้นใยต่าง ๆ เช่น ปอแก้ว หญ้าคา และกก มาแปรรูเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษด้วย
เครติด www.lannaway.com
วิดีโอ กระบวนการทำกระดาษสา